วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เหลือล้ำคำเอ่ย วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6



ชื่อเรื่อง              การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้หนังสืออ่าน
                       เพิ่มเติม  ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  วิชาภาษาไทยพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน            นางสุรีย์  เจียมจริยธรรม
ปีที่ทำการศึกษา 2554
สถานศึกษา          โรงเรียนประสาทวิทยาคาร  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33

บทคัดย่อ

           การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ  โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม
ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  วิชาภาษาไทยพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนประสาทวิทยาคาร   
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต  33  มีวัตถุประสงค์ดังนี้  (1)  เพื่อพัฒนาแบบฝึก
ทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ  โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  
 วิชาภาษาไทยพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  
 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ  โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม   
ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย วิชาภาษาไทยพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่อง  กาพย์เห่เรือ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ก่อนเรียน
และหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  และ (4)  เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่มีผลต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย
เพื่อความเข้าใจโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนประสาทวิทยาคาร  
จำนวน  1 ห้องเรียน   มีนักเรียนจำนวน  44  คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive  Sampling)  ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) 
 ผู้วิจัยใช้รูปแบบการทดลองแบบ  one-group  Pre-test  Post-test  Design  เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัย  ได้แก่ 1)  แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้หนังสือ
อ่านเพิ่มเติม  ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  วิชาภาษาไทยพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จำนวน  15  แผน 
2)  แบบฝึกทักษะอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย 
วิชาภาษาไทยพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  จำนวน  15  ชุด  3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน  40  ข้อ  ซึ่งมีค่าความยาก  (P)  ตั้งแต่  0.20 
ถึง  0.66  มีค่าอำนาจจำแนก  (B)  ตั้งแต่  0.25  ถึง  0.94  และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  (rcc) 
เท่ากับ   0.96  และ 4)  แบบวัดความพึงพอใจ  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  อันดับ  
จำนวน  20  ข้อ  ที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  (rxy)  ตั้งแต่  0.27  ถึง  0.55  และค่าความเชื่อมั่น
 ทั้งฉบับ  (α)  เท่ากับ  0.86  สถิติที่ใช้  คือ  ค่าเฉลี่ย  ()  ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D.) และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้  t-test  แบบ  Dependent  Samples
           ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
              1.  ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้หนังสืออ่าน
เพิ่มเติม  ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  วิชาภาษาไทยพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี
ประสิทธิภาพเท่ากับ   83.48/82.44  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้  80/80
              2.  ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้หนังสืออ่าน
เพิ่มเติม ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  วิชาภาษาไทยพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  มีค่าเท่ากับ  0.6925 
 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ  69.25
             3.  คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่อง  การอ่าน
ภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะโดยใช้
หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
            4.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะโดยใช้
หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  วิชาภาษาไทยพื้นฐาน  โดยรวมและเป็นรายข้ออยู่ใน
ระดับมาก
               โดยสรุป  การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้หนังสือ
อ่านเพิ่มเติม  ชุด  เหลือล้ำคำเอ่ย  วิชาภาษาไทยพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  เหมาะที่จะนำไปใช้
ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำแบบฝึกทักษะ
ดังกล่าวไปปรับใช้  เพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น