วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่อง การเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   รายวิชาภาษาไทย                   รหัสวิชา  ท๓๓๑๐๑                   
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔  เรื่อง  การเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์       ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยย่อยที่    คำสัมผัสคล้องจอง                 เวลาเรียน    ชั่วโมง
ครูผู้สอน  นางจันทรา   ชื่อดำรงรักษ์     สอนวันที่         เดือน                  พ.ศ.                        
.................................................................................................................................................................


สาระที่ ๔  หลักการใช้ภาษา
มาตรฐาน ท๔.๑   เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลัง
                       ของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา และ การรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

สาระสำคัญ
                   คำสัมผัสคล้องจอง  เป็นคำที่ประสมด้วยสระเดียวกันในแม่    กา และคำที่มีตัวสะกด
มาตราเดียวกัน  ซึ่งจะส่งผลให้อ่านออกเสียงคล้องจองกัน  มีความไพเราะสละสลวย  จึงมีความสำคัญ
ต่อการเขียนร้อยกรองเป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้น นักเรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง คำสัมผัสคล้องจอง
อย่างถ่องแท้  เพื่อนำไปใช้ในการเขียนร้อยกรองได้ถูกต้อง  ไพเราะสละสลวย  มีความหมายและเป็น
ภาษาที่มีความงดงาม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                    นักเรียนมีความรู้  ความเข้าใจ  และใช้คำสัมผัสคล้องจองในการเขียนร้อยกรองได้

จุดประสงค์การเรียนรู้
                    ๑.  นักเรียนบอกลักษณะของคำสัมผัสคล้องจองได้ถูกต้อง
                    ๒.  นักเรียนระบุคำสัมผัสสระและสัมผัสอักษรได้ถูกต้อง
                    ๓.  นักเรียนเขียนคำสัมผัสคล้องจองที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง  ไพเราะสละสลวย

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง      
                   ๑.  ความพอประมาณ  นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสร็จทันตามเนื้อหาและเวลาที่กำหนด 
                   ๒.  มีเหตุผล นักเรียนกล้าแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
                   ๓.  มีภูมิคุ้มกัน  นักเรียนแบ่งหน้าที่รับผิดชอบแก่สมาชิกในกลุ่ม  ร่วมมือทำงาน
และนำความรู้จากเรื่องที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้
                   ๔.  ด้านความรู้   นักเรียนมีความสนใจใฝ่เรียนรู้  เรื่อง  คำสัมผัสคล้องจอง 
                   ๕.  ด้านคุณธรรม  นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย  มีระเบียบ
ในการทำงาน
สาระการเรียนรู้
                   คำสัมผัสคล้องจอง  หมายถึง  คำที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองกัน  แบ่งเป็น    ชนิด 
 ได้แก่  สัมผัสสระและสัมผัสอักษร  ซึ่งสัมผัสสระ จะใช้สำหรับสัมผัสนอก หรือสัมผัสบังคับเท่านั้น

กิจกรรมการเรียนรู้
                   ขั้นนำ
                             ๑.  ครูสนทนากับนักเรียนและแจ้งผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ก่อนเรียนเรื่อง  การเขียนร้อยกรองประเภทกาพย์ กลอน และ โคลง
                             ๒.  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  เรื่อง  คำสัมผัสคล้องจอง ในเวลา
ที่กำหนดแล้วเก็บไว้ก่อน  (ตรวจพร้อมกันกับทดสอบหลังเรียน)
                             ๓.  ครูให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองกาพย์ยานี  ๑๑
                                                “ดูหนูสู่รูงู      งูสุดสู้หนูสู้งู 
                                               หนูงูสู้ดูอยู่       รูปงูทู่หนูมูทู”
ให้นักเรียนสังเกตว่ามีเสียงสระใดเหมือนกัน   ตอบคำถามและยกตัวอย่างประกอบ  หลังจากนั้นครู
และนักเรียนร่วมกันสรุปว่า  มีเสียงคำที่มีสระอูสัมผัสกัน  เช่น  ดู – หนู  - สู่ - รู  - งู   เป็นต้น
                             ๔.  นักเรียนดูแผนภูมิเนื้อเพลงและอ่านพร้อมกัน
                                          “นกนางนวลนอนนิ่ง   เกาะกิ่งมะนาวนอนหนาว
                                            นกนางนวลนอนหนาว   เกาะกิ่งมะนาวนอนนิ่ง”
                             ๕.  ครูร้องเพลงพร้อมแสดงท่าทางประกอบเพลง    รอบ  แล้วให้นักเรียนร้อง
พร้อมกับแสดงท่าทางประกอบเพลง
                             ๖.  นักเรียนสังเกตคำในเนื้อเพลง  แล้วตอบคำถาม คำในวรรคที่  ๑ และ
วรรคที่  มีอะไรเหมือนหรือต่างกัน”  (มี  พยัญชนะต้น    เหมือนกัน)  และคำในวรรคอื่น ๆ  เช่น   
คำในวรรคที่  ๑ และวรรคที่    มีคำใดออกเสียงคล้องจองกัน  (นิ่ง  -  กิ่ง)
                   ขั้นสอน
                             ๗.  ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ และ อธิบายขั้นตอนของการใช้แบบฝึกทักษะ
ชุดที่  ๑ เรื่อง  คำสัมผัสคล้องจอง  และเน้นคุณธรรม เรื่อง  ความซื่อสัตย์                     
                            ๘.  จัดนักเรียนเข้ากลุ่ม กลุ่มละ ๔ คน  แบบคละความสามารถ  เก่ง    คน   
ปานกลาง    คน  และอ่อน    คน ทุกกลุ่มเลือกหัวหน้าและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้สมาชิกทุกคน              
                             ๙.  นักเรียนศึกษาใบความรู้แล้วร่วมกันสรุปลักษณะของคำสัมผัสคล้องจอง ดังนี้
                                ๙.๑ สัมผัสสระ คือคำที่มีเสียงสระเหมือนกันและมีตัวสะกดในมาตราเดียวกัน
                                ๙.๒ สัมผัสอักษร คือ คำที่ใช้พยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน หรือ พยัญชนะที่มี
เสียงสูงต่ำเข้าคู่กันได้ หรือ พยัญชนะควบกล้ำชุดเดียวกันได้
                             ๑๐.  นักเรียนทำกิจกรรมที่ ๑.๑ - ๑.๓  ในแบบฝึกทักษะชุดที่ 
                             ๑๑.  นักเรียนและเพื่อนช่วยกันประเมินผลงานโดยใช้ชุดเฉลยคำตอบของ
กิจกรรมที่ ๑.๑ ๑.๓  ในภาคผนวก
                             ๑๒.  ครูดูแลช่วยเหลือและบันทึกคะแนนผลการทำกิจกรรมไว้เป็นคะแนน
ระหว่างเรียน 
                             ๑๓.  นักเรียนทดสอบหลังเรียน  เรื่อง  คำสัมผัสคล้องจอง  เมื่อเสร็จแล้ว
นักเรียนเปลี่ยนกันตรวจสอบความถูกต้องทั้งทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  โดยใช้ชุดเฉลยคำตอบ
ในแบบฝึกทักษะชุดที่ 
                             ๑๔.  ครูบันทึกคะแนนผลการทดสอบก่อนและหลังเรียน กล่าวชมเชย
นักเรียนที่ทำได้ตั้งแต่ ๘ ข้อขึ้นไป  และให้กำลังใจนักเรียนที่ทำได้น้อยกว่า ๘ ข้อ เพื่อให้ศึกษา
ค้นคว้าเพิ่มเติม                       
                   ขั้นสรุป
                             ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป เรื่อง  คำสัมผัสคล้องจองทั้งสัมผัสสระและ
สัมผัสอักษร      

สื่อและแหล่งเรียนรู้
                   ๑.  แผนภูมิเพลง
                   ๒.  แบบฝึกทักษะชุดที่    เรื่อง  คำสัมผัสคล้องจอง  ซึ่งประกอบด้วย
                             ๒.๑  แบบทดสอบก่อนเรียน  เรื่อง คำสัมผัสคล้องจอง 
                             ๒.๒  ใบความรู้  เรื่อง คำสัมผัสคล้องจอง 
                             ๒.๓   ใบกิจกรรมที่  ๑.๑ – ๑.๓  เรื่อง  คำสัมผัสคล้องจอง 
                             ๒.๔  เฉลยคำตอบกิจกรรมที่ ๑.๑ – ๑.๓ เรื่อง คำสัมผัสคล้องจอง
                             ๒.๕  แบบทดสอบหลังเรียน  เรื่อง คำสัมผัสคล้องจอง 
                             ๒.๖  เฉลยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน  เรื่อง คำสัมผัสคล้องจอง 

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                   วัดและประเมินผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้  ดังนี้
                             ๑.  นักเรียนบอกลักษณะของคำสัมผัสคล้องจองได้ถูกต้อง
                             ๒.  นักเรียนระบุคำสัมผัสสระและสัมผัสอักษรได้ถูกต้อง
                             ๓.  นักเรียนเขียนคำสัมผัสคล้องจองที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง  สละสลวย
                             ๔.  นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่กำหนด
                   วิธีวัดและประเมินผล
                             ๑.  ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง  คำสัมผัสคล้องจอง
                             ๒.  ตรวจกิจกรรมที่  ๑.๑-๑.๓
                             ๓.  สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน
                   เครื่องมือวัดและประเมินผล
                             ๑.  แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง  คำสัมผัสคล้องจอง   
จำนวน  ๑๐ ข้อ
                             ๒.  ใบกิจกรรมชุดที่  ๑.๑ - ๑.๓
                             ๓.  แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน
                   เกณฑ์การวัด / ประเมินผล
                                       นักเรียนมีคะแนนรวมเฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ ๘๐
 
ผลที่เกิดกับผู้เรียน
๑.      ผลงาน / ชิ้นงาน
๑.๑ ผลงานการทำกิจกรรมที่ ๑.๑ ๑.๓
๒.      ทักษะกระบวนการ
๒.๑ ทักษะการคิดวิเคราะห์
๒.๒ ทักษะการฟัง  พูด  อ่าน  และ  เขียน

กิจกรรมเสนอแนะ
             ให้นักเรียนแข่งขันรวบรวมคำสัมผัสคล้องจองเขียนต่อเนื่องกันเป็นเรื่องราวนำมาติด
ป้ายนิเทศ  เพื่อเผยแพร่ความรู้

ดาวน์โหลดแผนการหน่วยการเรียนรู้ที่ ๔  เรื่อง  การเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์       ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น